ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

29 พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED 2204
วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.20 .

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในปฐมวัย
    นิตยา  ประพฤติกิจ . 2541 ; 17-19
หน่วยสัตว์
1.            การนับ
นับจำนวนสัตว์ทั้งหมดในสวนสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก และสัตว์น้ำ
2.            ตัวเลข
เมื่อนับได้จำนวนสัตว์แล้วก็นำตัวเลขมาแทนค่าจำนวน และตัวเลขช่วยกำกับลำดับในการเรียงจำนวนสัตว์จากน้อยไปหามาก
3.            การจับคู่
ให้เด็กๆจับคู่ระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำว่ามีจำนวนกี่คู่เท่ากันหรือไม่
4.            การจัดประเภท
นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกันแล้วให้เด็กๆแยกสัตว์บกและสัตว์น้ำออกจากกัน แล้วนับจำนวนสัตว์ทั้ง2กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ในการจัดประเภท คือ สัตว์บก
5.            การเปรียบเทียบ
ให้เด็กๆสังเกตจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำ ว่าสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากกว่ากัน
6.            การจัดลำดับ
นำสัตว์มาวัดความสูงแล้วจัดลำดับโดยเรียงลำดับจากเตี้ยไปสูง
7.            รูปทรงและเนื้อที่
พื้นที่ที่ช้างอาศัยอยู่เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วจะปลูกหญ้าโดยใช้หญ้าทั้งหมด 12 แผ่น แล้วเอาต้นไม้มาเพิ่มเติมเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
8.            การวัด
วัดอาหารของสัตว์ว่าสัตว์กินอาหารจำนวนกี่ถ้วยตวง กินมากหรือน้อย
9.            เซต
เช่น การตกแต่งกรงนกโดยมี กิ่งไม้ จานอาหาร ถ้วยใส่น้ำ
10.    เศษส่วน
สัตว์บกทั้งหมดมี 20 ตัว แล้วนำแบ่งครึ่ง คือแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เอาครึ่งหนึ่งไปใส่กรงทั้งหมด
11.    การทำตามแบบหรือลวดลาย
นำสัตว์ปีกมารียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่ แล้วให้เด็กๆเรียงตามที่กำหนดไว้
12.    การอนุรักษ์ คงที่ ด้านปริมาณ
เด็กๆนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆโดยใช้ดินน้ำมันเท่ากัน
หน่วยผัก
1)           การนับ
นับจำนวนผักในตะกร้าแล้วนำผักมาเรียงกันจากซ้ายไปขวา
2)           ตัวเลข
นับจำนวนผักในตะกร้าแล้วกำกับด้วยตัวเลข   นำตัวเลขกำกับผักที่เราหยิบขึ้นมาเพื่อเรียงลำดับ
3)           การจับคู่
การจับคู่ระหว่างจำนวนกับตัวเลข เช่น ถ้ามีผักกาด 2 หัว ก็ให้เด็กๆไปเอาเลข 2 มาวางกำกับไว้
4)           การจัดประเภท
นำผักใบเขียวใส่ตะกร้า  ถ้าไม่ใช่ใบเขียวก็ไม่ต้องหยิบ
5)           การเปรียบเทียบ
เปรียบเทียบจำนวนว่า ผักชนิดใดมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่า โดยการนับจับคู่ 1 ต่อ 1 ถ้าผักชนิดใดหมดก่อน สรุปว่าผักชนิดนั้นมีน้อยกว่า
6)           การจัดลำดับ
นำผักมาวัดแล้วหาค่า นำมาเปรียบเทียบ 1 ต่อ 1 แล้วจากนั้นเรียงลำดับความยาว
7)           รูปทรงและพื้นที่
แครอทกี่หัวที่จะใส่กล่องสี่เหลี่ยมได้พอดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น