ยินดีต้อนรับ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EDEA2204
เวลา 08.30-12.20 น.
อาจารย์ให้นักศึกษาเอากล่องที่ตัวเองเตรียมม แล้วให้ดูว่ากล่องที่เตรียมมาเป็นรูปทรงอะไร

หลักการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
       -การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์  คือ  การที่ให้เด็กสัมผัสด้วยตนเองแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ครูวางไว้
    -เด็กจะคิดเล่นตามอิสระ
    -ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือสนับสุนน

 กล่องทำอะไรได้บ้าง
   1.นับ
   2.จับคู่  กล่องที่มีขนาดเท่ากัน
   3.เอาตัวเลขกำกับค่า
   4.วัดขนาดกล่อง
   5.เปรียบเทียบ
   6.เรียงลำดับ
   7.นำเสนอ (ข้อมูล)
   8.จัดประเภท   ต้องมีเกณฑ์ กล่องที่มีของกินได้ กับ กล่องที่มีของกินไม่ได้
   9.เนื้อที่   โดยนำดินน้ำมันมาวางใส่ในกล่องว่าได้กี่ก้อน
  10.เศษส่วน      ถามเด็กว่าเอากล่องมาทั้งหมดกี่กล่อง กล่องที่ใส่ของมีทั้งหมดกี่กล่อง
  11.ปริมาณค่าคงที่    โดยการย้ายตำแหน่งให้เด็ก
  12.การทำตามแบบ
    *อาจารย์ให้เด็กจับกลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน
       ให้คนที่ 1 วางกล่องแล้วคนต่อไปนำกล่องมาวางตรงไหนก็ได้ให้เป็นรูปต่างๆโดยแล้วแต่ผู้วางจะวางตรงไหน
       กลุ่มดิฉันได้วางเป็นรูปปิโตรเลียมไทย
       กลุ่มที่  2  รถแทรกเตอร์ 2013
       กลุ่มที่  3   หุ่นยนตร์โลโบ้
       กลุ่มที่  4   หนอน


วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

29 พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED 2204
วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.20 .

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในปฐมวัย
    นิตยา  ประพฤติกิจ . 2541 ; 17-19
หน่วยสัตว์
1.            การนับ
นับจำนวนสัตว์ทั้งหมดในสวนสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก และสัตว์น้ำ
2.            ตัวเลข
เมื่อนับได้จำนวนสัตว์แล้วก็นำตัวเลขมาแทนค่าจำนวน และตัวเลขช่วยกำกับลำดับในการเรียงจำนวนสัตว์จากน้อยไปหามาก
3.            การจับคู่
ให้เด็กๆจับคู่ระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำว่ามีจำนวนกี่คู่เท่ากันหรือไม่
4.            การจัดประเภท
นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกันแล้วให้เด็กๆแยกสัตว์บกและสัตว์น้ำออกจากกัน แล้วนับจำนวนสัตว์ทั้ง2กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ในการจัดประเภท คือ สัตว์บก
5.            การเปรียบเทียบ
ให้เด็กๆสังเกตจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำ ว่าสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากกว่ากัน
6.            การจัดลำดับ
นำสัตว์มาวัดความสูงแล้วจัดลำดับโดยเรียงลำดับจากเตี้ยไปสูง
7.            รูปทรงและเนื้อที่
พื้นที่ที่ช้างอาศัยอยู่เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วจะปลูกหญ้าโดยใช้หญ้าทั้งหมด 12 แผ่น แล้วเอาต้นไม้มาเพิ่มเติมเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
8.            การวัด
วัดอาหารของสัตว์ว่าสัตว์กินอาหารจำนวนกี่ถ้วยตวง กินมากหรือน้อย
9.            เซต
เช่น การตกแต่งกรงนกโดยมี กิ่งไม้ จานอาหาร ถ้วยใส่น้ำ
10.    เศษส่วน
สัตว์บกทั้งหมดมี 20 ตัว แล้วนำแบ่งครึ่ง คือแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เอาครึ่งหนึ่งไปใส่กรงทั้งหมด
11.    การทำตามแบบหรือลวดลาย
นำสัตว์ปีกมารียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่ แล้วให้เด็กๆเรียงตามที่กำหนดไว้
12.    การอนุรักษ์ คงที่ ด้านปริมาณ
เด็กๆนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆโดยใช้ดินน้ำมันเท่ากัน
หน่วยผัก
1)           การนับ
นับจำนวนผักในตะกร้าแล้วนำผักมาเรียงกันจากซ้ายไปขวา
2)           ตัวเลข
นับจำนวนผักในตะกร้าแล้วกำกับด้วยตัวเลข   นำตัวเลขกำกับผักที่เราหยิบขึ้นมาเพื่อเรียงลำดับ
3)           การจับคู่
การจับคู่ระหว่างจำนวนกับตัวเลข เช่น ถ้ามีผักกาด 2 หัว ก็ให้เด็กๆไปเอาเลข 2 มาวางกำกับไว้
4)           การจัดประเภท
นำผักใบเขียวใส่ตะกร้า  ถ้าไม่ใช่ใบเขียวก็ไม่ต้องหยิบ
5)           การเปรียบเทียบ
เปรียบเทียบจำนวนว่า ผักชนิดใดมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่า โดยการนับจับคู่ 1 ต่อ 1 ถ้าผักชนิดใดหมดก่อน สรุปว่าผักชนิดนั้นมีน้อยกว่า
6)           การจัดลำดับ
นำผักมาวัดแล้วหาค่า นำมาเปรียบเทียบ 1 ต่อ 1 แล้วจากนั้นเรียงลำดับความยาว
7)           รูปทรงและพื้นที่
แครอทกี่หัวที่จะใส่กล่องสี่เหลี่ยมได้พอดี

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

   22 พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED 2204
วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.20 .
          อาจารย์ให้แจกกระดาษแล้วให้นักเรียนเขียนชื่อพร้อมวาดรูป แล้วนำไปติดบนกระดานโดยมีเกณฑ์ คือ นักศึกษาที่มาก่อน 08.30 .ให้นำกระดาษไปติดก่อน แสดงให้เห็นถึงการจำแนกนักศึกษาในกลุ่มเดียวกัน
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในปฐมวัย
    นิตยา  ประพฤติกิจ . 2541 ; 17-19
1.            การนับ (Counting)
- การนับเพื่อรู้ค่าจำนวน
- การนับปากเปล่า
2.            ตัวเลข (Number)
- แทนค่าและจำนวน
- ใช้ในการจัดลำดับ
3.            การจับคู่ (Matching)
- จับคู่ระหว่างจำนวนกับจำนวน
4.            การจัดประเภท
5.            การเปรียบเทียบ (Comparing)
6.            การจัดลำดับ
7.            รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
8.            การวัด (Measurement)
9.            เซต (Set)
10.    เศษส่วน ( Fraction)
11.    การทำตามแบบ หรือ ลวดลาย (Patterning)
12.    การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

15 พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED 2204
วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.20 .
จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ร่วมกันวิเคราะห์ความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการสอน ขอบข่าย ของคณิตศาสตร์
                           สมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวสุกัญญา   ดอกดวง          เลขที่ 14              
2. นางสาวรัตติยา       มุ่งชอบ           เลขที่ 18
3. นางสาวณัฐติยา    เมืองมีศรี         เลขที่ 31 

ความหมายของคณิตศาสตร์

  คณิตศาสตร์จัดเป็นภาษาหนึ่งเช่นเดียวกับภาษอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย เป็นวิชาที่ทีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นกุญแจนำไปสู่วิชาการใหญ่ๆเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
 อ้างอิงจาก  : หนังสือคณิตคิดไม่ยาก,หนังสือคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมศึกษา,หนังสือวิธีการสอนและวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในประถมศึกษา
จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์
      1)ให้รู้จักคุณค่าของคณิตศาสตร์และสามารถนำไปใช้ให้เกิดปรโยชน์ในชีวิตประจำวัน
      2)สร้างความคุ้นเคยให้กับตัวเอง  การนนับ  การเพิ่ม  และการลด
      3)เพื่อฝึกฝนให้มีทักษะ  สมาธิ  และการคิดตามลำดับเหตุผล
      4)สร้างเสริมประสบการณ์ในการมโนทัศน์คณิตศาสตร์เป็นเรื่องตัวเลขและเหตุผล
วิธีการสอน
             สามารถใช้วิธีการสอนได้หลายวิธีให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนและเหมาะสมกับวัย
       1) เกม เป็นการจัดกิจกรรมนันทนาการโดยมีกติกาเพื่อให้เด็กปฏิบัติแบ่งเป็น3ลักษณะ คือ
 เกมพื้นฐานคณิตศาสตร์ เกมเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเกมเสริมทักษะคณิตศาสตร์
        2) วิธีบรรยาย
        3) วิธีอภิปราย
        4) วิธีค้นพบ
        5) วิธีสาธิต
        6) วิธีอุปนาม
        7) วิธีอุปนาม
ขอบข่ายคณิตศาสตร์
  • ความรู้ความเข้าใจ
  • ทักษะการคิดคำนวณ
  • กระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ไขโจทย์ปัญหา
  •  เจตนคติต่อคณิตศาสตร์
  • การนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวตประจำวัน
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์จะแตกต่างกันเพราะกลุ่มเป้าหมายในการเรียน

การให้เด็กกลับเข้ากลุ่ม
  1. การปรบมือ 1 ครั้ง (สื่อคือจังหวะ) โดยมีการวางข้อตกลงว่า ถ้ามีการปรบมือเกิดขึ้นให้เด็กๆกลับเข้ากลุ่มตัวเอง
  2. การร้องเพลง (สื่อคือเพลง) ได้แก่เพลงนี้
      กลุ่มไหน กลุ่มไหน        รีบเร็วไวหากลุ่มพลัน
อย่ามัวชักช้า                         เวลาจะไม่ทัน
ระวังจะเดินชนกัน              เข้ากลุ่มพลันว่องไว






วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED 2204
วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.20 .
วิธีการจัดกลุ่ม จัดหมวดหมู่ เป็นการคิดทางคณิตศาสตร์ เช่น
  1. การนับ 1 นับ 2
  2. จับฉลาก
  3. ใช้วันเกิด (จะแบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม)
  4. ผมสั้นอยู่บนบ่า ผมยาวอยู่ล่างบ่า (โดยมีเกณฑ์ คือ บ่า)
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราอะไรที่เป็นคณิตศาสตร์บ้าง
  • โต๊ะ ประตู หน้าต่าง รูปทรง
  • เงิน จำนวน ค่าของจำนวน
  • หลอดไฟ จำนวน รูปทรง
  • กระเป๋า จำนวน รูปทรง น้ำหนัก ขนาด รูปแบบ รูปร่าง
       การเปรียบเทียบที่ได้ผลที่สุด คือ การคำนวณ
       เด็กอายุ 4-6 ปี สามารถใช้เหตุผล เด็กเริ่มจะตอบหรือคิด จากการใช้ประสบการณ์เดิม ตามที่ตาเห็นได้อย่างถูกต้อง เมื่อเด็กได้ใช้ตัวเลขแสดงว่าเด็กเข้าใจสสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แล้ว

สมองของเด็กทำงานอย่างไร
       เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะทำงานไปยังสมองจะได้ข้อมูลเป็นประสบการณ์ก็จะไปสอดคล้องกับความรู้เดิมก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดเป็นความรู้ใหม่ก็จะเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาต่อยอดอันอื่นอีก

พฤติกรรมของเด็ก (เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
  1. ตาดู เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กแรกคลอดออกมา สำหรับลูกคนแล้วเราก็ลืมตาดูตั้งแต่แรกเกิด และพบว่าเด็กสามารถมองเห็นได้ในระยะที่ไม่ห่างจากตัวเองมากนัก
  2. หูที่ใช้ในการฟัง หูก็เช่นเดียวกับตา ตั้งแต่แรกเกิดระบบประสาทสัมผัสของการได้ยินของเด็กก็ทำงานอย่างสมบูรณ์ ความจริงเริ่มทำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว
  3. การรับรส หรือเรื่องของลิ้น เรื่องนี้สำคัญในเด็กทารก เด็กเล็กๆใช้ปากในการสำรวจ เขาจะสำรวจตั้งแต่ตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ เป็นกำปั้น หรือเป็นสิ่งต่างๆที่เขาคว้าและจับได้ มักจะเอาใส่ปากเสมอ เป็นการเริ่มรับสัมผัสในเรื่องของลิ้นที่ใช้ในเชิงของการสัมผัสมากกว่าเรื่องของรสชาติ
  4. จมูก เราจะเห็นพร้อมๆกันว่าเวลาที่เด็กคว้าจับได้ บางทีเด็กเอาใส่ปาก บางทีเขาก็ถูบริเวณจมูก ความจริงแล้วประสาทสัมผัสของเด็กเริ่มทำงานแล้ว เพียงแต่เขายังไม่เข้าใจในเรื่องของการแยกว่ารสชาติที่ได้รับหรือกลิ่นที่ได้นั้นเป็นกลิ่นอะไร แต่เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น เด็กจะแยกได้ง่ายๆว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นที่ชอบหรือไม่ชอบ
  5. ประสาทสัมผัสโดยตรงคือสัมผัสที่ผิว ทารกมีความไวต่อสิ่งที่มีสัมผัสมากทีเดียว และการสัมผัสทางผิวหนังนั้นเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในหลายส่วนในเด็กเป็นอย่างมาก เราจะเห็นได้ว่าเมื่อก่อนเราอาจจะอุ้มเด็กเล็กๆด้วยการที่เอาลูกใส่ในเบาะที่มีขนาดค่อนข้างหนา